วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผลกระทบของเขื่อนแม่วงก์


อากาศที่ร้อนระอุในช่วงนี้ยิ่งสะท้อนเตือนให้รู้ว่าโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ความรู้ทางวิชาการบอกไว้ว่าทรัพยากรป่าไม้จะช่วยบรรเทาอุณหภูมิอันร้อนระอุลงได้ ขณะเดียวกันความร้อนที่แผ่ไปทั่วนำมาซึ่งความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร วิธีแก้ปัญหาจากภาครัฐจากกรณีแห้งแล้งคือการสร้างเขื่อนเพราะเชื่อว่าจะแก้ปัญหาน้ำได้ 2 ด้านคือน้ำแล้งและน้ำท่วม
โครงการเขื่อนแม่วงก์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์กำลังหยิบยกมาแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 เม.ย.2555 เห็นชอบในหลักการให้มีการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยใช้งบประมาณ 13,000 ล้านบาท และใช้เวลาในการก่อสร้าง 8 ปีจะแล้วเสร็จในปี 2562 
มูลนิธิสืบนาคะสเถียร และองค์กรด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าสากล (WCS)  มูลนิธิลูกโลกสีเขียว มูลนิธิคณะกรรมการอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก มูลนิเพื่อบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ   เป็นต้น มีข้อคัดค้านพร้อมระบุเหตุผลคัดค้านว่าเขื่อนแม่วงก์ โดยระบุว่า ไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้จริง เพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์ในเขตพื้นที่ ที่จะถูกน้ำท่วมได้แก่ อ.แม่วงก์ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ ที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดเท โดยเฉพาะในเขตอำเภอลาดยาว เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นแอ่งรับน้ำจากพื้นที่ ทั้งทางตอนจากจังหวัดกำแพงเพชร ทางตะวันออกจากอำเภอบรรพตพิสัย และอำเภอเก้าเลี้ยว ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากอำเภอแม่วงก์ และทางทิศตะวันออกจากอำเภอแม่เปิน และอำเภอชุมตาบง ลักษณะทางธรณีวิทยาเช่นนี้เป็นลักษณะทางธรรมชาติ ของพื้นที่ที่เป็นแหล่งรวมของลำนี้อีกหลายสายมาบรรจบกันกับแม่น้ำวง ทำให้บริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่บริเวณลุ่มต่ำ โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมืองอำเภอลาดยาว จ.นครสวรรค์ การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จึงสามารถเก็บน้ำได้บางส่วนเท่านั้น
เหตุผลประกอบการคัดค้าน ด้านระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมนั้น มีหลากเรือง่ง ประเด็นที่สำคัญเขื่อนแม่วงก์จะทำลายสภาพป่าริมลำน้ำแม่วงก์ ที่มีระบบนิเวศสมบูรณ์  โดยมีต้นไม้ขนาดใหญ่ เช่นต้นกระบากใหญ่ ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 300 ปี และต้นไม้ใหญ่อื่นๆ ที่หลงเหลือจากการถูกตัดฟันในอดีตขึ้นปะปนกับ ป่าไผ่  และเขื่อนแม่วงก์จะนำไปสู่การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า บริเวณริมอ่างเก็บน้ำอย่างยากที่จะควบคุม เนื่องจากบริเวณเหนือแนวอ่างเก็บน้ำ ยังมีไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ ที่มีขนาดใหญ่อายุหลายร้อยปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น